เรียนอินเตอร์ในไทย
VS ไปนอก
“ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ให้มันเสียบ้างเลือกสักทางว่าใคร”
รับรองว่าเพลงนี้คงตรงใจน้องๆซึ่งอยู่ในภาวะต้อง
“เลือก” (ถึงแม้จะดูเก่าไปสักนิด) แต่พี่นุ้ยไม่ได้หมายถึงการเลือก “ใคร” เพราะเรากำลังพูดถึงการเลือก “อนาคตในการศึกษาต่อระดับปริญญาต่างหาก”
จะเลือกทั้งที ให้นั่งโยนหัวก้อย หรือเด็ดกลีบกุหลาบคงไม่ดีแน่
การตัดสินใจต้องอาศัยเหตุผลกันหน่อยค่ะ
หากน้องเป็นคนหนึ่งที่จะต้องเลือกระหว่างการเรียนในหลักสูตรอินเตอร์และไปเรียนต่อเมืองนอก
เหตุผลแรกที่ต้องพิจารณาคือทุนทรัพย์หรือก็คือเงินนั่นเอง
ค่าเรียนเทอมหนึ่งของหลักสูตรอินเตอร์จะตกอยู่ที่ประมาณ
70,000-80,000 บาท บางหลักสูตรเรียนแบบ 2 เทอมเหมือนการเรียนในภาคไทย ส่วนบางที่เรียนแบบ tri-semester หรือ 3 เทอมแบบต่งประเทศ โดยเทอมที่ 3 เป็นเทอม summer ย่อย มีระยะเวลาเรียนสั้นกว่าเทอมปกติ ค่าเรียนอินเตอร์ในไทยนับว่าสูสีกับการไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะสูงกว่า (จากข้อมูลใน Wikipedia สหรัฐอเมริกาดูเหมือนจะมีค่าเรียนสูงที่สุด รองลงมาคืออังกฤษ) บวกลบคูณหารออกมา ค่าเรียนตกประมาณเกือบ 1 ล้านบาทเหมือนกัน แต่ที่แตกต่าง คือ ค่าครองชีพค่ะ ค่าครองชีพในต่างประเทศมักสูงกว่าประเทศไทย คิดง่ายๆจากดัชนีแมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์ชิ้นหนึ่งในเมืองนอก เช่น อเมริกา อังกฤษ หรือสิงคโปร์ จะมีราคาสูงกว่าที่เมืองไทย 1-2 เท่าโดยผันแปรตามอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ไหนจะมีค่าที่พักระหว่างศึกษาอีก ดังนั้น น้องๆที่อยากเรียนต่อต่างประเทศหรืออินเตอร์คงต้องคำนวณกันนิดหนึ่ง กรณีที่ทุนทรัพย์จากทางบ้านไม่เอื้ออำนวยและไม่สามารถหาทุนการศึกษาจากแหล่งอื่นได้ พี่นุ้ยว่าคงต้องมุ่งหน้าไปสู่ทางเลือกที่ 3 (ซึ่งละไว้ในฐานที่เข้าใจ) คือ เรียนภาคไทยหรือศึกษาต่อในประเทศค่ะ
70,000-80,000 บาท บางหลักสูตรเรียนแบบ 2 เทอมเหมือนการเรียนในภาคไทย ส่วนบางที่เรียนแบบ tri-semester หรือ 3 เทอมแบบต่งประเทศ โดยเทอมที่ 3 เป็นเทอม summer ย่อย มีระยะเวลาเรียนสั้นกว่าเทอมปกติ ค่าเรียนอินเตอร์ในไทยนับว่าสูสีกับการไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะสูงกว่า (จากข้อมูลใน Wikipedia สหรัฐอเมริกาดูเหมือนจะมีค่าเรียนสูงที่สุด รองลงมาคืออังกฤษ) บวกลบคูณหารออกมา ค่าเรียนตกประมาณเกือบ 1 ล้านบาทเหมือนกัน แต่ที่แตกต่าง คือ ค่าครองชีพค่ะ ค่าครองชีพในต่างประเทศมักสูงกว่าประเทศไทย คิดง่ายๆจากดัชนีแมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์ชิ้นหนึ่งในเมืองนอก เช่น อเมริกา อังกฤษ หรือสิงคโปร์ จะมีราคาสูงกว่าที่เมืองไทย 1-2 เท่าโดยผันแปรตามอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ไหนจะมีค่าที่พักระหว่างศึกษาอีก ดังนั้น น้องๆที่อยากเรียนต่อต่างประเทศหรืออินเตอร์คงต้องคำนวณกันนิดหนึ่ง กรณีที่ทุนทรัพย์จากทางบ้านไม่เอื้ออำนวยและไม่สามารถหาทุนการศึกษาจากแหล่งอื่นได้ พี่นุ้ยว่าคงต้องมุ่งหน้าไปสู่ทางเลือกที่ 3 (ซึ่งละไว้ในฐานที่เข้าใจ) คือ เรียนภาคไทยหรือศึกษาต่อในประเทศค่ะ
เหตุผลต่อมาที่น้องต้องคิดในการตัดสินใจ
คือ เรื่องการเรียนการสอน ถ้าจะให้ฟันธงไปเลยระหว่างอินเตอร์กับเมืองนอก
พี่นุ้ยว่าตัดสินใจได้ยากมากค่ะ
ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยนั้นๆมากกว่า
ซึ่งน้องสามารถตรวจสอบคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้จากคู่มือที่ระบุคำวา “university ranking”
หรือจะค้นหาในอินเตอร์เนตก็ได้ แต่ข้อสังเกตที่หลายคนพูดถึง คือ
ต่างประเทศจะให้มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการเขียน เช่น รายงาน มากกว่า
ยิ่งไปกวานั้นจากประสบการณ์ส่วนตัวของพี่นุ้ยละเสียงลือเสียงเล่าอ้าง
หลักสูตรอินเตอร์ในประเทศบางที่ยังมีลักษณะอย่างหนึ่งที่เรียกว่า รีไซเคิลอาจารย์
นั่นคือ เอาอาจารย์ที่สอนในภาคไทยมาสอนอินเตอร์ด้วย
ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรนะคะยกเว้นแต่ในกรณีที่อาจารย์บางคนมีความรู้แน่น
แต่ภาษาอังกฤษไม่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาการเรียนการสอนเมื่อต้องรับผิดชอบชั้นเรียนซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลา
นอกจากการเรียนการสอนแล้ว
ยังมีเหตุผลด้านสังคมอีกด้วยนะคะ
สังคมที่ว่าหมายถึงเครือข่ายของเพื่อนที่จะติดต่อและเกื้อกูลกันในอนาคต
ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่จะทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงธุรกิจ ประเด็นนี้
ชวิศ สันติภราภพ หรือพี่ท๊อป
ซึ่งเคยศึกษาระดับมัธยมปลายที่สิงคโปร์และปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บอกกับพี่นุ้ยว่าเรื่องเครือข่ายและสังคมถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เขากลับมาเรียนที่ประเทศไทย
และในประเทศไทยยังมีกิจกรรมและการฝึกอบรมระยะสั้นที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์และทำให้รู้จักเพื่อนที่สามารถพึ่งพากันต่อไปได้ทั้งในชีวิตการทำงานและส่วนตัว
(การจัดอบรมที่ขึ้นชื่อในสายุรกิจสำหรับนักเรียนระดับปริญญา เช่น
หลักสูตรนักลงทุนรุ่นใหม่จัดโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
และธนาคารคู่บ้านคู่เมืองโดยธนาคารกรุงเทพ) ท๊อปยังเสริมอีกว่าการกลับมาเรียนต่อที่ประเทศไทยทำให้ประหยัดเวลาไปได้อีก
เพราะหากเรียนที่สิงคโปร์ เขาต้องเสียเวลาอีก 2 ปีเพื่อเรียนในระดับ pre-university
หรือ A level ก่อนที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้
นอกจากนั้นท๊อปยังประหยัดค่าเรียนได้อีก
เพราะผลจากการที่เขาได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ระดับดี จึงได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารเกียรตินาคิณ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
น้องๆคงอยากถามต่อไปวา “แล้วเรื่องภาษาอังกฤษล่ะ ถ้าตัดสินใจเรียนต่ออินเตอร์หรือไปต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษจะดีขึ้นรึเปล่า” พี่นุ้ยตอบเลยว่า “ไม่แน่ค่ะ” เพราะจากประสบการณ์ที่อยู่รายการ English
Breakfast และสอนนักเรียน
พี่นุ้ยเห็นเลยว่าคนที่จบต่างประเทศหรืออินเตอร์ส่วนใหญ่พูดเก่ง ฟังเก่ง
แต่หลายคนมีปัญหาเรื่องไวยากรณ์กับการเขียนหรือที่เรียกว่า broken English เป็นภาษาอังกฤษแบบแตกๆหักๆ น่าจะเกิดมาจากการเรียนภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติ
ไม่ได้สนใจกฎเกณฑ์ แต่ถ้าเทียบกันระหว่าง 2 ตัวเลือกนี้
แน่นอนว่าอยู่ต่างประเทศได้ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าอยู่แล้ว
เพราะเหมือนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกบังคับให้สื่อสาร
และเมื่อจะเรียนต่อระดับปริญญาโทในต่างประเทศ ยังอาจได้รบยกเว้นไม่ต้องสอบ IELTS
หรือ TOEFL อีกด้วย (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน)
หากเรียนหลักสูตรอินเตอร์ พอเดินออกนอกห้องเรียนเข้าโรงอาหาร
ก็ต้องสั่งอาหารเป็นภาษาไทยอยู่ดี แต่ไม่ว่าจะอย่งไร
น้องที่จะเรียนต่ออินเตอร์หรือไปเมืองนอกจำเป็นต้องมีพื้นฐานภาษาอังกฤษและผ่านการเตรียมตัวมาก่อนแล้วในระดับหนึ่ง
ท้ายที่สุดคงเป็นเรื่องประสบการณ์ชีวิตและความชอบส่วนบุคคล ในส่วนความชอบนี้ก็แล้วแต่ใจว่าให้ความสำคัญกับอะไร
บางคนเลือกเพื่อน ครอบครัว ก็อยากจะเรียนอินเตอร์ในไทยหรือเรียนภาคไทยเลย
ส่วนบางคนปรับตัวได้ดี อยากแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ก็อยากไปต่างประเทศ
แต่เรื่องที่ควรระวังเป็นอย่างมากสำหรับนักเรียนที่ไปเมืองนอกครั้งแรก คือ nervous breakdown โรคประสาทที่เกิดจากการเครียดมากๆเพราะความเปลี่ยนแปลงและสับสนต่อวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย
ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ปัญหาแบบผิดๆได้โดยเฉพาะในรายที่อายุน้อยๆหรือไม่มีวุฒิภาวะมากพอ
“Success
is a continuous journey.” ความสำเร็จคือการเดินทางอย่างต่อเนื่อง การเลือกเรียนเมืองนอก อินเตอร์
หรือแม้แต่ภาคไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่ง
แต่ที่เหลือเกือบทั้งหมดนั้นมาจากความตั้งใจและความพยายามเก็บเกี่ยวความรู้
ประสบการณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ สมัยรุ่นพี่นุ้ย (พี่นุ้ยเรียนที่จุฬาฯ รหัส 42) นักเรียนไมได้มีทางเลือกหรือหลักสูตรที่เปิดมากเท่ากับตอนนี้
แต่หลายคนก็มีความมานะจนประสบความสำเร็จได้นะคะ ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ
ปล.
แวะคุยกันได้ที่ www.facebook.com/nuienglish หรือคลิก nuienglish@hotmail.com
ได้นะคะ
พี่นุ้ย English Breakfast,
PhD. Candidate, NIDA
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น