No man is an island จากนิตยาสาร
Just
Ask @ Thaioil
“No man is an island.”เพราะคนไม่ใช่เกาะ
เราจึงต้องเกาะกลุ่ม
ประโยคยอดนิยมของคนที่เรียนเกี่ยวกับการสื่อสาร
คือ โน-แมน-อีส-แอนด์-ไอแลนด์
ก็มนุษย์นั้นไม่ใช่เกาะที่ลอยอยู่อย่างโดดเดี่ยว
เราถึงต้องมารวมกันเป็นกลุ่มและองค์กร man ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า
ผู้ชาย แต่หมายถึงมนุษย์ทั้งหมดเลยค่ะ ส่วน island ย้ำกันชัดๆอีกทีว่าอ่าน
“ไอแลนด์” ไม่ใช่ “ไอสแลนด์” ภาษาอังกฤษจะมีตัวอักษรที่เป็นเสียงเงียบอย่างในที่นี้จะเรียกว่า
s นั้นเป็น silent letter (letter คือ
ตัวอักษร ไม่ใช่จดหมาย) จะรู้ว่าเมื่อไรไม่ต้องออกเสียงมีวิธีเดียวคือเปิดพจนานุกรม
ในกรณีนี้พี่นุ้ยว่าภาษาไทยง่ายกว่าเยอะเพราะถ้าไม่ออกเสียง
เราก็ใส่การันต์ไปที่ตัว s ได้เลย
ภาษาเป็นเรื่องยาก
แต่ที่ท้าทายไม่แพ้กันก็คือการบริหาร
จะทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่ก่อนผู้บริหารจะคิดถึงเรื่อง growth (การเติบโต) แต่สมัยนี้ต้องเติม
adjective ลงไปด้านหน้าด้วยกลายเป็น sustainable
growth (การเติบโตอย่างยั่งยืน) แบบไปต่อได้เรื่อยๆโดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
ไม่ใช่ขึ้นเร็วลงเร็ว
พี่นุ้ยเคยได้ยินบางคนพูดว่าองค์กรมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างจำกัด
ผู้บริหารเป็นได้แต่เพียง passive agent (เห็น passive
นั้นไม่ใช่ประโยคถูกกระทำที่เอากรรมวางข้างหน้านะคะ
แต่หมายถึงนิ่งเฉย เฉื่อยชา ต้องคอยตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ส่วน agent
นั้นคือผู้กระทำการ ไม่ใช่เอเย่นต์ขายสินค้าแต่ประการใด) แต่จากสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบัน พี่นุ้ยกลับเชื่อในอีกแนวทางหนึ่ง คือ
ผู้บริหารที่เก่งนั้นเป็น active agent สามารถใช้ความรู้ความสามารถจัดการ
ควบคุม หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเพื่อความสำเร็จขององค์กรได้ แต่ก่อนเราเรียกการบริหารว่า
change แต่สมัยนี้ต้องเติม adjective ลงไปด้านหน้าด้วยกลายเป็น
strategic change คือการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับกลยุทธ์ (strategy)
ซึ่งกำหนดทิศทางขององค์กร ในการศึกษาวิชาบริหาร
มีบทเรียนหนึ่งได้สอนว่าเมื่อยื่นกรรไกรให้ตัดกระดาษ เราไม่เพียงแต่จะต้องพยายามตัดกระดาษให้ดีที่สุดเท่านั้น
แต่ขอให้นั่งคิดต่อด้วยว่ามีวิธีอื่นอีกไหมที่จะตัดกระดาษให้ดียิ่งขึ้นไปอีกได้นอกจากการใช้กรรไกร
การคิดตัดกระดาษให้ดีที่สุดนั้นคือการเรียนรู้ระดับที่ 1 ซึ่งเรียกว่า adaptive
learningคือปรับวิธีทำงานให้ดีที่สุด (นึกถึง adaptation
ที่แปลว่า การปรับตัว หรือ adapter หม้อแปลงไฟฟ้าก็คงจะได้) ส่วนการนั่งคิดเปลี่ยนวิธีทำงานไปสู่แบบใหม่ๆ
จะเป็นการเรียนรู้ระดับต่อมาเรียกว่า generative learning (สัมพันธ์กับ
generate ที่เป็นกริยาแปลว่า ก่อให้เกิด) หรือภาษาบ้านๆเรียกว่า think outside the box (คิดนอกกรอบ)
นั่นแหละค่ะ
ในปี
2554 นี้พี่นุ้ยมีคำถามในใจและเป้าหมายต่อองค์กรของพี่นุ้ยเรียบร้อยแล้ว
แต่การเดินไปถึงจุดมุ่งหมายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะเรื่ององค์กรเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
ไม่ได้มีส่วนผสมหรือสูตรที่ตายตัวเหมือนวิทยาศาสตร์ด้วยเหตุว่าแกนหลักขององค์กรก็คือ
“คน” การบริหารคน (people management) นั้นต้องใช้กุศโลบายทั้ง hard side (เน้นการควบคุม
เร่งรัดประสิทธิภาพ) และ soft side (เน้นการให้กำลังใจ
ความเป็นมิตร และสร้างโอกาส) อย่างสมดุล
แต่ความยุ่งยุ่งทั้งจากภายในและภายนอกก็คงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
เพราะองค์กรก็เหมือนกับ “ชีวิต” การพัฒนาไปสู่จุดที่สูงขึ้นมักมาจากความพยายามเพื่อคิดหาวิธีเอาชนะอุปสรรคต่างๆ
คล้ายกับที่พูดกันว่า Every cloud has a silver lining.
เมฆทุกก้อนย่อมมีเส้นขอบสีน้ำเงิน เส้นสีน้ำเงินเป็นตัวแทนของความหวัง ความสำเร็จ
และความสุข พี่นุ้ยเชื่อว่ายังมีสิ่งดีๆมากมายที่รอเราทุกคนและองค์กรของเราอยู่ในปี
2554 แน่นอนค่ะ…
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น