Grammar ใครว่ายาก!


Compond noun คือ คำนามที่เกิดจากการนำคำนามมาขยายคำนาม มักส่งผลให้เกิดความหมายใหม่ คำนาม 2 คำนี้ อาจเขียนติดกัน เว้นวรรค หรือมีเครื่องหมาย – (hyphen) กั้นระหว่างกลาง ต้องดูตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกัน แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือ ไม่ได้มีกฎแน่นอนว่าจะใช้กันอย่างไร ต้องสังเกตและหมั่นดูตามเจ้าของภาษา

ตัวอย่าง
        
girlfriend  แปลว่า  แฟนสาว (โดยมากจะไม่ใช้สื่อถึงเพื่อนผู้หญิง)
traffic light  แปลว่า  ไฟจราจร
bellboy  แปลว่า  พนักงานยกกระเป๋าในโรงแรม
sleeping bag (หรือ sleeping-bag)  แปลว่า ถุงนอน
walking stick (หรือ walking-stick)  แปลว่า ไม้เท้า

แต่เดี๋ยวก่อน นอกจากจะนำนามมาขยายนามแล้ว ยังมีการเอาบุพบท หรือคำกริยาเข้ามาประกอบได้อีกด้วย เช่น

father-in-law  แปลว่า  พ่อตา
mother-in-law  แปลว่า  แม่ยาย
workman  แปลว่า  กรรมกร
passer-by  แปลว่า  คนเดินเท้า
by-product  แปลว่า  ผลพลอยได้
output  แปลว่า  ผลผลิต

หลักการใช้ compound noun

1. ใช้คำนามด้านหลังเป็นคำหลัก คำหน้าเป็นคำขยาย    
    a school bus แปลว่า รถโรงเรียน (เป็นรถ ไม่ใช่โรงเรียน)
    a bus driver  แปลว่า คนขับรถเมล์ (เป็นคนขับ ไม่ใช่รถ)

ดังนั้นเมื่อจะเปลี่ยนเป็นพหูพจน์ ให้เปลี่ยนที่คำหลัก ไม่ใช่คำขยาย
        a school bus จึงกลายเป็น two school buses
        a bus driver จึงกลายเป็น two bus drivers

แต่ยังไงก็ต้องระวังอยู่ดี เพราะถ้าเมื่อไร compound noun นั้นมีคำบุพบทประกอบด้วย พี่นุ้ยขอให้พิจารณาดูว่าคำไหนเป็นตัวหลัก เช่น
a father-in-law กลายเป็น two fathers-in-law 
(เปลี่ยน father เป็นพหูพจน์)

a mother-in-law กลายเป็น two mothers-in-law 

(เปลี่ยน mother เป็นพหูพจน์)

a passer-by กลายเป็น two passers-by 
(เปลี่ยน passer เป็นพหูพจน์)

อย่างไรก็ตาม กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น อย่าง compound noun ที่นำหน้าด้วย man และ woman เวลาเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนทั้งสองส่วน เช่น

a man-servant (คนรับใช้ผู้ชาย) กลายเป็น  two men-servants     
a woman-servant (คนรับใช้ผู้หญิง) กลายเป็น two women-servants     

2. compound noun เป็นการนำคำนามมาขยายนาม
โดยปกติเมื่อจะขยายหรือบอกสภาพคำนาม เราจะใช้คำประเภท adjective มาวางไว้หน้านามนั้น เช่น

a wealthy man (ชายผู้ร่ำรวย) a luxurious car (รถที่หรูหรา) ทั้ง wealthy และ luxurious เป็น adjective

แต่สำหรับ compound noun จะเป็นการนำคำนามมาขยายนาม และคำนามที่นำมาขยายไว้ด้านหน้าโดยมากจะไม่สามารถทำให้เป็น adjective ได้ เช่น

knowledge management  แปลว่า การจัดการความรู้
stock market แปลว่า ตลาดหุ้น
a two-year-old boy แปลว่า เด็กผู้ชายอายุ 2 ขวบ (ให้สังเกตว่า two-year-old ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย มีหน้าที่เหมือน adjective บอกสภาพของคำนาม จึงไม่เติม –s ที่ year)

3. การใช้ compound noun ต้องดูตามที่คนอื่นใช้
ไม่ใช่เรื่องที่คิดเอง  สร้างคำเอาเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ a greenhouse effect  เป็นศัพท์บัญญัติ แปลว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งหมายถึง การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะให้คิดบัญญัติคำใหม่ขึ้นมาเองก็คงไม่ไหวนะคะ ต้องดูตามสื่อมวลชน อย่างหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือฟังจากบทสนทนาที่ฝรั่งใช้กัน

4. เมื่อไรใช้ adjective เมื่อไรใช้ compound noun?  
อ่านๆ ไปก็เริ่มเกิดปัญหาว่า เอ๊ะ! ในเมื่อ adjective และนามก็สามารถเป็นตัวขยายได้เหมือนกัน แล้วทีนี้จะรู้ได้ยังไงล่ะว่าเมื่อไรจะใช้แบบไหน  

พี่นุ้ยว่าอันที่จริงแล้วต้องดูเป็นกรณีไป แต่ก็ยังมีหลักให้พอสังเกตได้ เช่น

education service (บริการทางการศึกษา) เป็น compound noun แต่บางทีก็เห็น educational service (บริการทางการศึกษา) educational ซึ่งเป็น adjective มาขยายคำนามคือ service

สรุปว่ามีใช้สองแบบ แต่จะใช้ในโอกาสที่แตกต่างกัน ลองมาดูตัวอย่างให้เข้าใจกันอย่างถ่องแท้ดีกว่า


The government provides free education service.
รัฐบาลจัดการศึกษาแบบให้เปล่า 

education service หมายถึง บริการทางการศึกษา พูดถึงคำนามที่นำมาขยายโดยตรง

The library provides educational service.
ห้องสมุดให้บริการที่เกี่ยวกับการศึกษา

คือ ห้องสมุดไม่ได้สอนหนังสือเรา แต่อาจให้บริการที่เกี่ยวกับด้านการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ตให้เราศึกษาหาความรู้

ความคิดเห็น